0_0 Welcome to my blog 0_0

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

0.0 Welcome to blogger paan 0.0คำอธิบาย

.....ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฎิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้

    

วัตถุประสงค์

.....เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้

.....1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้

..... 2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้

..... 3. ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้


..... 4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้ 

..... 5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้

..... 6. บอกความหมายและองค์ประกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้


......7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้

..... 8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้

..... 9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้

.....10. บอกความสัมพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

.....11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สามารถสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้

.....12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา

.....13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่างๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้

.....14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้

.....15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้



**************************************************************************

ความซื่อสัตย์ 
    ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น เราต้องมี ความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์ การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้ ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
    ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้ นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น คนฟังยิ่งมากยิ่งดี ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้ ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ นี่เอง การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้   การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่ หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน เช่นคุณทำก่อน เธอทำก่อน แล้วผมค่อยทำ แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่ ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์ แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้ แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์ รู้จักทำหน้าที่ ฯลฯ นั่นเอง



***********************************************************************


คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์สุจริต ความเพียร
" .....ในฐานะที่จะเป็นครูบาอาจารย์หรือหัวหน้างานในวันข้างหน้า จำเป็น ต้องมีความสุจริตยุติธรรม ทำตัวให้เป็นตัวอย่างและเป็นที่พึ่งของผู้อยู่ ใต้บังคับบัญชา ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ความโลภ ความลืมตัว ความริษยาแตกร้าวกัน ต้องมุ่งมั่นในประโยชน์อันยั่งยืนไพศาลของส่วนรวมเป็นเป้าหมาย จึงจะได้เชื่อว่า จะประสบความสำเร็จและชื่อเสียงเกียรติคุณ ทุกๆประการดังที่ปรารถนา …… "
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า : ๒๕ ตุลาคม ๒๕๑๖)


**************************************************************************

INTEGRITY.
   
This article is about integrity as a theoretical and ethical concept. For other uses, see Integrity 
Integrity is a concept of consistency of actions, values, methods, measures, principles, expectations, and outcomes. In ethics, integrity is regarded as the honesty and truthfulness or accuracy of one's actions. Integrity can be regarded as the opposite of hypocrisy,in that it regards internal consistency as a virtue, and suggests that parties holding apparently conflicting values should account for the discrepancy or alter their beliefs.
   The word "integrity" stems from the Latin adjective integer (whole, complete). In this context, integrity is the inner sense of "wholeness" deriving from qualities such as honesty and consistency of character. As such, one may judge that others "have integrity" to the extent that they act according to the values, beliefs and principles they claim to hold.
    A value system's abstraction depth and range of applicable interaction may also function as significant factors in identifying integrity due to their congruence or lack of congruence with observation.  value system may evolve over time while retaining integrity if those who espouse the values account for and resolve inconsistencies.